วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

Fungi : รา ยีสต์ เห็ด ไลเคน ราเมือก

- โครงสร้างของเซลล์เป็นยูคาริโอติกเซลล์ มีเยื้อหุ้มนิวเคลียส
- ไม่มีคลอโรฟิลด์ ส่วนใหญ่ได้อาหารจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย
- ผนังเซลล์มีไคตินเป็นองค์ประกอบ
- สามารถสร้างสปอร์ได้
- มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์ หรือ เส้นใย
- มีทั้งเซลล์เดี่ยวและหลายเซลล์ที่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นเนื้อเยื้อ

บทบาท
- ก่อให้เกิดโรคใน มนุษย์ พืช สัตว์
- ก่อให้เกิดประโยชน์กับสิ่งมีชีวิตอยู่ร่วมกัน
Ø รา ที่พบอยู่ในรากพืช
Ø ราที่อยู่ร่วมกับสาหร่าย (ไลเคน)
การดำรงชีวิตของฟังไจ
1. Saprophyte : เจริญบนซากพืช ซากสัตว์
2. Parasite : เจริญบนเนื้อเยื้อพืช และสัตว์ ที่ยังมีชีวิต
3. Mutualism : การอยู่ร่วมกันกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แบบพึ่งพาอาศัยกัน
การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ              
1. Fragmentation เกิดจากเส้นใยหักเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนเรียก oidia สามารถเจริญเป็นเส้นใยใหม่ได้ 
2. Budding การแตกหน่อ เป็นการที่เซลล์แบ่งออกเป็นหน่อขนาดเล็กและนิวเคลียสของเซลล์แม่แบ่งออกเป็นสองนิวเคลียส นิวเคลียสอันหนึ่งจะเคลื่อนย้ายไปเป็นนิวเคลียสของหน่อ เมื่อหน่อเจริญเต็มที่จะคอดเว้าขาดจากกัน หน่อที่หลุดออกมาจะเจริญต่อไปได้ 

3. Fission การแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วน แต่ละเซลล์จะคอดเว้าตรงกลางและหลุดออกจากกันเป็น 2 เซลล์พบในยีสต์บางชนิดเท่านั้น 
4. การสร้างสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศที่พบมากที่สุดสปอร์แต่ละชนิดจะ  มีชื่อและวิธีสร้างที่แตกต่างกันไป เช่น 
Øcondiospore หรือ conidia เป็นสปอร์ที่ไม่มีสิ่งหุ้ม เกิดที่ปลายเส้นใยที่ทำหน้าที่ชูสปอร์ (conidiophore) ที่ปลายของเส้นใยจะมีเซลล์ที่เรียกว่า sterigma ทำหน้าที่สร้าง conidia เช่น Aspergillus sp. และ Penicillium sp. 
Øsporangiospore เป็นสปอร์ที่เกิดจากปลายเส้นใยพองออกเป็นกระเปาะ แล้วต่อมามีผนังกั้นเกิดขึ้นภายใน กระเปาะจะมีผนังหนาและเจริญเป็นอับสปอร์ (sporangium) นิวเคลียสภายในอับสปอร์จะมีการแบ่งตัวหลายๆครั้ง โดยมีส่วนของโปรโตพลาสซึมและผนังหนามาหุ้มกลายเป็นสปอร์ที่เรียกว่า sporangiospore จำนวนมากมาย  


5. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์และมีการรวมตัวของนิวเคลียส ซึ่งรวมแล้วเป็น diploid (2n) และมีการแบ่งตัวในขั้นตอนสุดท้ายแบบ meiosis เพื่อลดจำนวน โครโมโซมลงเป็น haploid (n) ตามเดิม

การจัดจำแนกฟังใจ

                ไฟลัมไซโกไมโคตา (Phylum Zygomycota)
 ไฟลัมไซโกไมโคตา (Phylum Zygomycota) ราที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด ลักษณะ 
Ø เซลล์เดี่ยวเจริญอยู่ในน้ำ บนบก และซากพืชซากสัตว์ 
Ø เส้นใยชนิดไม่มีผนังกั้น 
Ø ต้องการความชื้น 
Ø ดำรงชีวิตแบบปรสิต(Parasite) และผู้ย่อยสลาย (saprophyte)
Ø การสืบพันธุ์ 
  •     แบบไม่อาศัยเพศ สร้างสปอร์ เรียกว่า  sporangiospore 
  •     แบบอาศัยเพศ สร้างสปอร์ เรียกว่า zygospore 
Ø โทษ ทำให้เกิดโรคในพืชและสัตว์
Ø เช่น ราดำ ราขนมปัง 
ภาพแสดงวงชีวิตของ Zygomycetes , Rhizopus
http://www.trueplookpanya.com/data/product/media/KNOWLEDGE/picknowledge/fu_02.jpg?w=240

ไฟลัมแอสโคไมโคตา (Phylum Ascomycota) Ascomycota จัดเป็นไฟลัมที่ใหญ่ที่สุด จากข้อมูลในปี พ.ศ.2544  พบว่า Ascomycetes มีถึง 32,267 ชนิด (species) ลักษณะ 
Ø  เซลล์เดียว นอกนั้นเป็นพวกมีเส้นใยมีผนังกั้นและเป็นราคล้ายถ้วย (cup fungi) 
Ø  ดำรงชีวิตบนบก 
Ø  การสืบพันธุ์ 
  •      แบบไม่อาศัยเพศ สร้างสปอร์เรียกว่า conidia ที่ปลายไฮฟา ส่วนยีสต์จะแตกหน่อ 
  •      แบบอาศัยเพศ สร้างสปอร์ ที่มีชื่อว่า ascospore อยู่ในถุงเรียกว่า ascus
Ø  ประโยชน์ 
o    Saccharomyces cerevisiae ใช้ผลิตแอลกอฮอล์และมีโปรตีนสูง 
o    Monascus sp. ใช้ผลิตข้าวแดงและเต้าหู้ยี้ 
Ø  โทษ
o    เกิดโรคกับคนและสัตว์
Ø  เช่น ยีสต์
ภาพแสดงวงชีวิตของ Ascomycetes
https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/1468888757751/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-fang-ci-kingdom-fungi/Ascomycota.jpg

ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา (Phylum Basidiomycota) สร้างเบสิดิโอสปอร์(basidiospores)ได้แก่ เห็ดที่กินเป็นอาหารได้และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ตัวอย่าง เห็ดฟาง (volvariclla volvacea) เห็ดหอม (Lentinula edodes) เห็ดหูหนู เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดแชมปิญอง เห็ดกระดุม เป็นฟังไจที่มีความสำคัญมากกลุ่มหนึ่ง ทั้งในแง่ที่มีประโยชน์ และในแง่ที่มีโทษก่อ ความเสียหายร้ายแรง เช่น ราสนิมและราเขม่า ก่อความเสียหายให้กับผลผลิตได้ ตัวอย่างฟังไจใน Phylum นี้เช่น เห็ดรังนก เห็ดร่างแห เห็ดหิ้ง เห็ดปะการัง ลักษณะเส้นใยมีผนังกั้นและรวมตัวอัดแน่นเป็นแท่งคล้ายลาต้น เช่น ดอกเห็ด 

Ø  การสืบพันธุ์ 
o    แบบไม่อาศัยเพศ สร้างสปอร์เรียกว่า codiosporeใน conidia 
o    แบบอาศัยเพศ สร้างสปอร์ที่สร้างโดยอาศัยเพศสร้างบนอวัยวะคล้ายกระบองหรือเบสิ เดียม (basidium) เรียกว่า แบสิดิโอสปอร์ (basidiospore)
Ø  ประโยชน์ 
o    ใช้เป็นแหล่งอาหาร
Ø  โทษ 
o    ทำให้เกิดโรคในพืช เช่น ราสนิม ราเขม่า
o    เห็ดรา มีสารพิษเข้าทาลายระบบประสาท ทางเดินอาหาร ตับ หัวใจ
Ø  เช่น เห็ด
ภาพแสดงวงชีวิตของ Basidiomycetes
http://images.slideplayer.com/26/8356141/slides/slide_10.jpg

ไฟลัมดิวเทดโรไมโคตา (Phylum Deuteromycota) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า fungi imperfecti หมายถึง กลุ่มของราหลายชนิดที่ไม่พบว่ามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ได้แก่ 
Ø  ราที่นำมาผลิตเพนิซิลลิน (Penicilium sp.) 
Ø  ราที่ใช้ผลิตกรดซิตริก (Aspergilus niger) รวมทั้งราที่ใช้ผลิตเนยแข็ง 
Ø  ราที่ทำให้เกิดโรคกลากเกลื้อน เท้าเปื่อย 
ลักษณะ 
Ø  เส้นใยมีผนังกั้น 
Ø  สืบพันธุ์ไม่แบบอาศัยเพศเท่านั้น โดยสร้างสปอร์ที่เรียกว่า โคนิเดีย (conidia) จึงเรียกราในกลุ่มนี้ว่า Fungi Imperfecti 
Ø  แต่หากเมื่อใดมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะไปอยู่ใน Ascomycetes และ Basidiomycetes 
Ø  ประโยชน์ 
        • Penicillium chrysogernum ใช้ผลิตยาปฏิชีวนะเพนิซิลลิน 
        • Aspergillus wendtii ใช้ผลิตเต้าเจี้ยว 
        • A. oryzae ใช้ผลิตเหล้า สาเก 
Ø  โทษ 
        • ทำให้เกิดโรคในพืช 
        • สร้างสารพิษ 
        • ทำให้เกิดโรคในคน เช่น กลาก โรคเท้าเปื่อย หรือฮ่องกงฟุต
ภาพแสดงวงชีวิตของ Deuteromycota
https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/_/rsrc/1468888757464/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-fang-ci-kingdom-fungi/8372_nfg025.jpg

การจัดจำแนกไลเคน
Eriksson and Hawksworth (1983-1991) ปรับปรุงการจำแนกราทั่วๆ ไป (Non lichenized fungi) และราที่สัมพันธ์อยู่กับไลเคน (lichenized fungi) ให้เป็นระบบยิ่งขึ้น(Tehler, 1996)

- ปัจจุบันการจำแนกหมวดหมู่ และกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ของไลเคนยึดหลักการของการจำแนกราเป็นสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับโครงสร้างลักษณะของอะโพธีเซีย (apothecia)สปอร์ (spore) ในการจำแนกเป็น Class Order และ Family 
ส่วนการจำแนกถึง Genus ใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของทัลลัส (Thallus) และส่วนประกอบทางเคมี  ส่วนในระดับชนิด (species) ใช้ลักษณะของรา สาหร่าย สัณฐานวิทยา ส่วนประกอบทางเคมี การแพร่-กระจาย และสารธรรมชาติที่พบในไลเคนเป็นหลัก ด้วยวิธีนี้ไลเคนจำแนกได้ประมาณ 13,500 species 
- ความหลากหลายชนิดเกิดจากราใน Class Ascomycetes เป็นสำคัญ โดยมีไลเคนที่เกิดจากราใน Class Basidiomycetes เพียง 20 ชนิดเท่านั้น

การจัดจำแนกไลเคนจากลักษณะทางสัณฐานวิทยา
ครัสโตส (Crustose) มีลักษณะเป็นฝุ่นผงอัดเป็นแผ่นแบน (crusty) เกาะติดแน่นกระจายบนก้อนหิน เปลือกไม้ หรือกิ่งไม้ สามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ พบไลเคนกลุ่มนี้ได้ทั่วไป เช่น ครัสโตสไลเคน 
ภาพแสดงรูปครัสโตส ไลเคน 
https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/originals/13/c6/0e/13c60eb99a254b98db402b5844ff8b20.jpg

โฟลิโอส (Foliose) มีลักษณะเป็นแผ่นแบนคล้ายแผ่นใบ (leafy) ด้านล่างมีไรซีนใช้เกาะติดกับก้อนหินหรือเปลือกไม้ พบได้บริเวณที่มีความชื้น เช่น โฟลิโอส ไลเคน  
ภาพแสดงรูปโฟลิโอส ไลเคน  
http://biology.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/16/2014/07/54-4-9.jpg

ฟรูติโคส(Fruticose)หรือฝอยลมมีลักษณะเป็นกิ่งก้านหรือเส้นคล้ายกิ่งไม้หรือไม้พุ่ม (shrubby) เกาะตามกิ่งไม้ทั่วไป มักพบตามบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ภูเขาสูง น้ำตก ชายฝั่งทะเล เช่น ฟรูติโคส ไลเคน 
ภาพแสดงรูปฟรูติโคส ไลเคน 
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/6e/Letharia_vulpina_JHollinger_crop.jpg/350px-Letharia_vulpina_JHollinger_crop.jpg

สแควมูโลส (Squamulose) มีลักษณะเป็นเกล็ดคล้ายเกล็ดปลา มีบางส่วนของทัลลัสเกาะติดกับผิววัตถุเพียงเล็กน้อย เช่น สแควมูโลส ไลเคน
ภาพแสดงรูปสแควมูโลสไลเคน
http://lh3.googleusercontent.com/lDniunUGN6pMB5rT9n0LPql54JTJo0qVdBICuN8j4Tp-8meC1ypp6KXyv-7hXQL5BteaLL0ynR_IbLjYuiw=s580

พลาคอย(Placoid) มีส่วนกลางที่คล้ายดรัสโตส โดยติดกับพื้นที่เกาะอาศัยแนบแน่น ส่วนด้านขอบยกนูนคล้ายแผ่น
ภาพแสดงรูปพลาคอยไลเคน
http://www.sa.ac.th/biodiversity/contents/1lichen/p16_placoid.jpg

การจัดจำแนกราเมือก
ราเมือกชนิดพลาสโมเดียม (plasmodial slime molds) เป็นราเมือกที่เซลล์มีหลายนิวเคลียส  ในวัฏจักรชีวิตจะพบระยะพลาสโมเดียมและระยะสร้างสปอร์ เมื่อสปอร์งอกแล้วจะเป็นราเมือกเซลล์เดี่ยว (unicellular) ที่มีลักษณะคล้ายอะมีบา (amoeboid cell) ซึ่งไม่มีผนังเซลล์ สามารถเคลื่อนที่และกินอาหารโดยการล้อมจับหรือฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) เช่นเดียวกับอะมีบา ในบางกรณีเซลล์ที่เกิดจากสปอร์อาจเป็นเซลล์ที่มีแฟลเจลลา (flagellated cell) ซึ่งจะเป็นเซลล์แบบใดนั้นขึ้นกับความชื้นของสิ่งแวดล้อมที่ราเมือกอาศัยอยู่ ถ้าความชื้นมากจะเป็นเซลล์ที่มีแฟลเจลลาซึ่งสามารถว่ายน้ำได้ แต่ถ้าความชื้นน้อยจะเป็นเซลล์คล้ายอะมีบา เซลล์เดี่ยวเหล่านี่จะมีโครโมโซมเพียงชุดเดียว (haploid ; n) เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและมีอาหารจำนวนมาก ราเมือกก็จะเจริญและเพิ่มจำนวนได้ จากนั้นจะจับคู่เกิดการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการปฏิสนธิได้เป็นไซโกตที่มีโครโมโซม 2 ชุด (diploid ; 2n) และแบ่งเซลล์เจริญไปเป็นพลาสโมเดียมซึ่งอาจมีขนาดใหญ่มากได้ เกิดจากการที่เซลล์จำนวนมากเคลื่อนที่มารวมกลุ่มกัน จากนั้นไซโทพลาซึมของแต่ละเซลล์จะรวมตัวกันได้เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ 1 เซลล์ที่มีนิวเคลียสจำนวนมาก พลาสโมเดียมมักจะมีสีสดใส เช่น เหลือง ส้ม ชมพู มีลักษณะเป็นเมือก (slime) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อราเมือก และสามารถเคลื่อนที่บนพื้นผิวของวัตถุที่พลาสโมเดียมนั้นอาศัยอยู่ได้ แต่เมื่อสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมที่จะดำรงชีวิตในระยะพลาสโมเดียม เช่น ขาดความชื้นหรือขาดอาหาร ราเมือกจะเปลี่ยนไปเป็นระยะที่สร้างสปอร์ โดยสร้างสปอร์ในอับสปอร์ที่อยู่บนก้าน (stalk) สปอร์เหล่านี้จะมีผนังแข็งแรงทนต่อความแห้งแล้งได้ดี และเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมหรือได้รับความชื้นก็จะงอกและเจริญต่อไป
ภาพแสดง วัฏจักรชีวิตของราเมือก Physarum sp
http://www.thaigoodview.com/files/u19951/Am2.jpg

ราเมือกชนิดเซลลูลาร์ (cellular slime molds) เป็นราเมือกที่เซลล์มี 1 นิวเคลียส ส่วนใหญ่ของวัฏจักรชีวิตจะดำรงชีวิตเป็นเซลล์เดี่ยว มีลักษณะคล้ายอะมีบา อยู่เป็นอิสระ แต่เมื่อสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ขาดแคลนอาหาร จะมีการปล่อยสารเคมีออกมาเป็นสัญญาณเพื่อให้เซลล์มารวมกลุ่ม เรียกว่ากลุ่มของเซลล์  นี้ว่า slug ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะมาเกาะกลุ่มกันเท่านั้น ส่วนของไซโทพลาสซึมของแต่ละเซลล์จะไม่รวมตัวกันได้เป็นเซลล์ขนาดใหญ่เช่นเดียวกับราเมือกชนิดพลาสโมเดียม slug ที่เกิดขึ้นมีลักษณะคล้าย fruiting body ของฟังไจ จะสร้างสปอร์ผนังแข็งแรงทนต่อความแห้งแล้งได้ดี และเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมหรือได้รับความชื้นก็จะงอกและเจริญต่อไป 
ภาพแสดง วัฏจักรชีวิตของราเมือก Dictyostelium sp.
 http://bio1151.nicerweb.com/Locked/media/ch28/cellular.html





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น